วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เมาส์สแกนเนอร์

 Mouse Scanner








ผลิตภัณฑ์ Portable Scanner หรือสแกนเนอร์แบบพกพา ยามปกติจะทำตัวเป็น Mouse แต่เมื่อยามที่เราต้องการ ก็สามารถเป็น Scanne ได้
คุณสมบัติ
โดยจุดเด่นของเมาส์รุ่นนี้ก็คือ มันสามารถทำได้มากกว่าเป็นแค่เมาส์ธรรมดาๆ ตัวหนึ่ง เนื่องจากเมาส์ตัวเล็กๆ ที่เห็นในรูปนี้ยังสามารถทำหน้าที่เป็น "สแกนเนอร์" ได้อีกด้วย โดยเซ็นเซอร์"เลเซอร์"ที่อยู่ภายในเมาส์นอกจากจะใช้ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของพอยน์เตอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้ว มันยังสามารถใช้เป็นเซ็นเซอร์"สแกนเนอร์" เพื่อสแกนภาพขนาดต่างๆ โดยขนาดของเอกสาร หรือภาพที่ใหญ่สุดได้ถึง
A3 (กระดาษ A4 สองแผ่น) เลยทีเดียว
สแกนเนอร์โดยทั่วไปจะใช้เซ็นเซอร์ที่มีความกว้างเท่าๆ กับหน้ากระดาษ ในขณะที่ LG LSM0-100 จะสามารถต่อภาพที่สแกนผ่านเซ็นเซอร์เลเซอร์ได้ โดยผู้ใช้จะต้องลากเมาส์ไปมาทั่วบริเวณภาพ หรือเอกสารที่ต้องการสแกนจนได้ภาพที่สมบูรณ์บนหน้าจอ ซึ่งนั่นหมายความว่า นอกจากมันจะต้องอ่านข้อมูลที่สแกนได้เร็วแล้ว การต่อภาพที่สแกนจะต้องรวดเร็ว และแม่นยำอีกด้วย ตามสเป็กระบุว่า มันสามารถเก็บรายละเอียดของภาพ และสีสันต่างๆ โดยจัดเก็บได้ทั้งฟอร์แมตไฟล์ภาพ และเอกสาร PDF ที่เจ๋งกว่านั้น คือภายในเมาส์รุ่นนี้ยังมีเทคโนโลยี OCR (Optical Character Recognition) เพื่อแปลงภาพเอกสารที่สแกนให้กลายเป็นไฟล์ข้อความ
บริษัทที่ผลิต
1.             แอลจี อีเลคทรนิคส์ ( LG Eletronic )
2.             Shenzhen Kingree Eletronic
3.             บริษัทแอลดับเบิ้ลยู จำกัด (LW)


วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เรื่อง อุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูล


อุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูล




 1.ฟลอปปีดิสก์

เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลชนิดแรกๆ มีขนาด 5.2 และ3.5 เป็นการบันทึกข้อมูลลงในแถบแม่เหล็กใช้วิธีการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก ข้อมูลสามารถล็อกได้
เหตุผลที่เลิกใช้ : เพราะมีขนาดใหญ่และจุได้น้อย


2.ฮาร์ดดิสก์




ฮาร์ดดิสก์คือ จานบันทึกเสียงแบบแข็งมีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน มี 2 ขนาดคือ ใช้กับเดสท็อบ และ โน๊ตบุค ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ถึง 250 จิกะไบต์ สามารถถอดออกจากเครื่องมาใช้ภายนอกได้
ข้อดี -ข้อเสีย
มีราคาถูกแต่มีขนาดใหญ่เกินไป

3.ซีดีรอม (CD) 






คือ สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้เสียงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล ซีดีรอมใช้การอ่านโดยการยิงแสง ใช้ในรูปแบบดิจิตอล เวลาอ่านแผ่นซีดีรอมจะหมุนมีความจุ 700 เมกกะไบต์
สิ่งที่ควรดีเวลาซื้อ คือความเร็วในการอ่าน

4.ดีวีดี(DVD)


เป็นแผ่นขนาดเท่าซีดีรอม มีความจุเยอะกว่า ความละเอียดในกานบันทึกข้อมูลสูงกว่า แต่มีปัญหาใน
ด้านการแบ่งโซน แบ่งเป็น 8 โซนดังนี้

1 .สหรัฐอเมริกา, แคนาดา
 2. ยุโรป, ญี่ปุ่น, แอฟริกาใต้, ตะวันออกกลาง รวมถึง อียิปต์
3 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึง ประเทศไทย, เอเชียตะวันออก รวมถึง ฮ่องกง แต่ไม่รวม จีน,มองโกเลีย และ เกาหลีเหนือ
4 อเมริกากลาง, อเมริกาใต้, โอเชียเนีย
5 ยุโรปตะวันออก, รัสเซีย, เอเชียใต้, แอฟริกา, เกาหลีเหนือ, มองโกเลีย
6 จีน
7 สำรอง

8พาหนะระหว่างประเทศ
5. USB ไดรฟ์



เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลโดยใช้ข้อมูลแบบแฟลต อุปรกณ์ที่ใช้เสียบมีมาตราฐาน เป็นอุปกรณ์ชนิดแรกที่ไม่มีหน่วยเคลื่อนที่ มีความจุเพิ่มขึ้นที่ละ 1 เท่า
เป็นอุปรกณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลโดยใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ทำงานร่วมกับยูเอสบี1.1 หรือ 2.0 มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ในปัจจุบัน แฟลชไดรฟ์มีความจุตั้งแต่ 4 GBถึง 2TB โดยทั่วไปไดรฟ์จะทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการซึ่งรวมถึงวินโดวซ์
ชื่อเรียกของแฟลชไดรฟ์ (รวมถึงคำว่าแฟลชไดรฟ์) ไม่มีชื่อพื้นฐานที่กำหนด โดยผู้ผลิตได้ตั้งชื่อเป็นโมเดลของตัวเอง ซึ่งได้แก่
คีย์ไดรฟ์ (key drive)
จัมป์ไดรฟ์ (jump drive) เครื่องหมายการค้าขอเล็กซาร์
ดาต้าคีย์ (data key)
ดาต้าสติ๊ก (data stick)
ทราเวลไดรฟ์ (travel drive)
ทัมบ์ไดรฟ์ (ThumbDrive) เครื่องหมายการค้าของ เทร็ค
ทัมบ์คีย์ (thumb key)
เพนไดรฟ์ (pen drive)
ฟิงเกอร์ไดรฟ์ (finger drive)
แฟลชไดรฟ์ (flash drive)
แฟลชดิสก์ (flash disk)
เมโมรีไดรฟ์ (memory drive)
ยูเอสบีไดรฟ์ (usb drive)
ยูเอสบีคีย์ (usb key)
แฮนดีไดรฟ์ (handy drive)
เป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นที่นิยมใช้กันทั่วโลก

6. แผ่นบลูเรย์
Reverse side of a Blu-ray Disc


เป็นแผ่นลักษณะคล้ายซีดีรอม แต่มีความจุมากกว่า มีความละเอียดสูง แผ่นดับเบิลเรย์เยอร์ มีความจุ
มากกว่าเดิท 2เท่าเป็นความพัฒนาช่วยให้เก็บข้อมูลได้เยอะขึ้น เช่น ภาพยนต์ เป็นส่วนใหญ่



7. การ์ดเมมโมรี
mouse



เป็นอุปกรณ์ข้อมูลขนาดเล็ก เช่น กล้องดิจิตอล โน๊ตบุ๊ค มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับชนิด
คลาสคือความเร็วในการถ่ายข้อมูล


วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีเครื่องฉาย

                                                         เทคโนโลยีเครื่องฉาย

เครื่องฉายคือ   อุปกรณ์ที่สื่อออกมาให้เห็นภาพที่จะแสดงนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่  ภาพนิ่ง และภาพ
เคลื่อนไหว

ส่วนประกอบ
1. หลอดฉายแสง

     หลอดฉาย (Lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างสำหรับการฉาย มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันคือหลอดชนิดที่เรียกว่า หลอดฮาโลเจน (Halogen) ซึ่งเป็นหลอดขนาดเล็ก กินไฟน้อย แต่ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดแบบเก่า ขนาดตามกำลังไฟฟ้าของหลอดฉาย มีตั้งแต่ 150 W จนถึง1,000 W ในเครื่องฉายสไลด์ มักใช้ขนาด 150 W 250 W และ 300 W เครื่องฉายแผ่นใส อาจใช้ขนาด 250 W, 650 W



2.เลนซ์รวมแสง(เก็บรายละเอียดของภาพ)



        


     เลนซ์รวมแสง(Condenser Lens) เป็นชุดของเลนซ์นูน ทำหน้าที่รวมหรือบีบลำแสงให้มีความเข้มสูงไปผ่านที่วัสดุที่จะฉาย ในเครื่องฉายบางแบบ เช่น เครื่องฉายวัสดุทึบแสงไม่มีเลนซ์ชนิดนี้ เนื่องจากเครื่องฉายวัสดุทึบแสงใช้วิธีการฉายแบบสะท้อน         


 3 .เลนซ์กระจายแสง


เครื่องฉาย


เครื่องฉายภาพนิ่ง  จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ  ได้แก่  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพทึบแสง  และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  (เครื่องฉายภาพโปร่งใส)  เป็นต้น 
 เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว  ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวเหมือนภาพที่เป็นจริง  ได้แก่  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายฟิล์มลู๊ป  
เครื่องแปลงสัญญาณจากภาพ
  เป็นวัสดุที่บรรจุในแถบแม่เหล็ก เป็นเครื่องมือที่แปลงได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
คำจำกัดความ เสนอได้เป็นเพียง 3 มิติ สามารถใช้เป็นกล้องวงจรปิดได้เพราะหน้ากล้องมีคุณสมบัติเหมือนกล้องวีดีโอ

กล้องทำหน้าที่ในการเสนอการขึ้นจอ สิ่งที่จำเป็นมี 3 พอร์ต
1 .สายไฟเข้า
2.RGB OUT คือสัญญาณออก
3. RGB IN คือ สายคอมพิวเตอร์ต่อจากคอมสู่เคสคอมพิวเตอร์

วิชวลไลเซอร์




สามารถให้ผู้สอนหรือผู้บรรยาย มองเห็นภาพที่บรรยายได้ทันที โดยทีไม่ต้องหันไปมองที่โปรเจคเตอร์ แต่ถ้าเป็นจอขนาดเล็ก ๆ อาจทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน

โปรเจคเตอร์
    

โปรเจคเตอร์ (projector) คือ อุปกรณ์ที่ช่วยในการแสดงภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เหมาะสำหรับการนำมาใช้ เสนองานหรือที่เราเรียกว่า presentation หรืออาจนำมาทำเป็น Home Theater โดยปกติ โปรเจคเตอร์สามารถนำมาต่อกับอุปกรณ์ได้หลายประเภท เช่น วีดีโอ วีดีโอซีดี หรือ ดีวีดี รวมทั้งคอมพิวเตอร์ ใช้พลังงานน้อย มีกระจกเข้ามาช่วยในการแสดงภาพ ประยุกต์ใช้ได้หลากหลายประเภท


วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรู้ในห้องเรียน วันที่ 25 มิ.ย.2556

           ความรู้ที่ได้ในห้องเรียน
ภาษาคือ คำพูดที่ใช้สื่อสารกันเป็นเสียงพูดที่มีระเบียบ และมีความหมายซึ่งมนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความคิด ความรู้สึก ความต้องการและใช้ในการประกอบกิจกรรมร่วมกัน
ลักษณะสำคัญของภาษาไทย
1.คำไทยมีลักษณะเป็นคำโดด ส่วนมากมีพยางค์เดียว
2.คำไทยและละคำมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องมีการปรับรูปคำเมื่อนำไปใช้รูปแสดงความเป็นพจน์ หรือ กาล
3.ภาษาไทยจะสกดตรงตามมาตราทั้ง 8 แม่ ได้แก่
  แม่ กก คำที่ใช้ ก สะกด เช่น นก  หก
  แม่กด คำที่ใช้ ด สะกด เช่น รด  สด
  แม่กบ คำที่ใช้ บ สะกด  เช่น รบ จบ
  แม่กง คำที่ใช้ ง สะกด  เช่น จด กด
  แม่กน คำที่ใช้ น สะกด  เช่น จน หน
  แม่กม คำที่ใช้ ม สะกด เช่น จม  ชม
  แม่ เกย คำที่ใช้ ย สะกด เช่น ชาย  คาย
  แม่เกอว คำที่ใช้ ว สะกด ชาว กาว
คำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราถือเป็นภาษาต่างประเทศ
4.ภาษาไทยมีการเรียงคำเป็นS, v ,o
5.มีเรื่องของระดับภาษา คือ ทางการ กึ่งทางการ พิธีการ สนทนา และกันเอง
6.ภาษาไทยมีลักษณะนาม เป็นคำที่ใช้ตามหลังจำนวนที่เราพูดถึง
7.ภาษาไทยมีวรรคตอนในการพูดและการเขียน ถ้ามีการพูดหรือเขียนผิดวรรคตอนก็อาจทำให้ความหมายเปลี่ยนได้
8.คำเดียวมีความหมายได้หลายหน้าที่ เช่น คำนาม สรรพนาม อาทิ ตา(นาม)
9.ภาษาไทยส่วนใหญ่มักไม่ใช้ตัวการันต์
เสียงต่างๆที่ทำให้เกิดเสียงในภาษาไทย
คือเสียง พยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ พยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียง
คขฆ(ฅฃ)
ชฉฌ
ซ(สษศ)
ดฎฑ
ทถฐธฑฒ
นณ
พผภ
ฟฝ
ยญ
ลฬ
ฮห
อักษรนำมีอยู่5+1
(อักษรนำสามารถทำให้เราสังเกตุภาษาต่างประเทศได้)
สระมี21รูป21เสียง
เพราะมีสระเกิน คือคำที่ออกเสียงสระอื่นซ้ำ
สระประสม มี เอียะ อัวะ เอือะอำ ไอ ใอ เอา ฤฤา ฦฦา

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรู้ในห้องเรียนที่ 18 มิ.ย. 2556

                                                                ความรู้ที่ได้ในห้องเรียน
วันที่  18 มิถุนายน 2556

1. รู้ความหมายของคำว่า  วิ  แปลว่า ความยิ่งใหญ่
2. คำไทยสะกดตรงตามมาตรา เช่น  ผัว เมีย
3. คำบาลี สันสฤตผันได้ 8 รูป 8 หน้าที่
4. คนไทยในสมัยก่อนเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ชอบแต่งกลอน
5. จุดกำเนิดของคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตในทางทฤษฏี
6. คนไทยที่อพยบไปอยู่ประเทศอินเดียเรียกไทยอาฮม
7. ดินแดนสุวรรณภูมิเป็นเขตการปกครองของเขมร ดังสัญลักษณ์ที่เห็นในปัจจุบันคือ พระปรางค์สามยอด  ศาลพระกาฬ และปรางค์แขก
8.แหล่งการเรียนรู้เมื่อก่อนอยู่ที่เขาสมอคอน(เชื่อกันว่าพ่อขุนรามเคยมาศึกษาเล่าเรียนที่นี่)
9. คนไทยรวมกลุ่มกันรับวัฒนธรรมต่างๆและได้ตั้งเมืองสุโขทัยขึ้น
10. อักษรไทยครั้งแรกมีประมาณ10 กว่าตัวเพราะคนไทยใช้คำซำกัน
11. อยุธยารับวัฒนธรรมของเขมรเข้ามาเต็มๆ  คำราชาศัพท์มีเยอะขึ้น
12. รัชการที่4ได้คิดค้นอักษรอริยะกะ แต่ไม่นิยมใช้เพราะเป็นอักษรที่ใช้ยากและไม่คุ้นเคย
13. ภาษาไทยเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม