ความหมายของภาษา
ความหมายของภาษา ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน(2531:608)ได้ให้ความหมายของคำว่าภาษา
ไว้ 3 ความมหมายคือ
1) ภาษาเป็นคำนามหมายถึง
เสียงหรือท่าทางหรือกิริยาอาการใดก็ตามที่มนุษย์ใช้เพื่อทำความเข้าใจได้ ได้แก่ คำพูด หรือถ้อยคำที่ใช้พูดกันด้วย
2) เป็นความหมายโดยปริยาย หมายถึงคน
หรือชาติที่พูดภานั้น เช่น แต่งตัว ตามภาษา
3) หมายถึงมีความรู้ความเข้าใจ อาจยกตัวอย่างได้เช่น ทำอะไรอย่างกับคนรู้ภาษา
สำหรับภาษาที่จะอภิปรายกันในที่นี้เป็นภาตามความหมายที่ 1 พอสรุปได้ว่า ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ภาษาหมายถึงสิ่งใดก็ตามที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน อาจเป็นเสียง ท่าทาง
หรือกิริยาอาการ จึงอาจกล่าวได้ว่าภาษาในที่นี้
อาจเป็นภาพูด ภาษาเขียน หรือภาษามือก็ได้
ความหมายของภาษา
ภาษา เมื่อแปลตามรูปศัพท์หมายถึง
คำพูดหรือถ้อยคำ
ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถติดต่อสื่อสาร
เข้าใจกันได้ โดยมีระเบียบของเสียงและเรื่องของคำเป็นเครื่องกำหนด
ในพจนาณุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525
ใหความหมายของคำว่าภาษาคือเสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด
ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
ภาษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วัจนภาษา และ อวัจนภาษา
1. วัจนภาษา
เป็นภาษาที่พูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำ สร้างความเข้าใจกัน
มีระเบียบในการใช้ถ้อยคำในการพูด นอกจากนั้นยังเป็นหนังสือที่ใช้แทนคำพูด
คำที่ใช้เขียนจะเป็นคำที่เลือกสรรแล้ว
มีระเบียบในการใช้ถ้อยคำในการเขียนและการพูดตามหลักภาษา
2. อวัจนภาษา เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจางคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสารเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ
ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำได้แก่ ท่าทางการแสดงออก
การใช้มือใช้แขนประกอบการพูดหรือสัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ
เช่น สัญญานไฟจราจร สัญญานธง เป็นต้น
ภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์มาก
เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารแล้ว
ยังเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดของมนุษย์และเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ
และที่สำคัญก็คือ ภาษาช่วยสร้างเสริมความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย
เพราะภาษาเป็นถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจกันในสังคม
ที่มา :www. nungruatai11.wordpress.com
ภาษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง
กริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้
ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์
ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.
2542 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ภาษา ไว้ว่า
"ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย
ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา; อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ"
วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาภาษาในแง่ต่างๆ
เรียกว่า "ภาษาศาสตร์" เริ่มบุกเบิกโดยแฟร์ดินอง
เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) บุคคลที่พูดภาษาใดก็ตาม
ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเชิงภาษาศาสตร์ของภาษานั้น ๆ
ที่มา: th.wikipedia.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น